Thursday, March 20, 2014

มาดูวิธีกรอกใบขาเข้าญี่ปุ่น ไม่ให้ถูกถาม

ที่มา https://www.facebook.com/kinjo.okinawa/posts/735675746445081?stream_ref=5
การเขียนใบขาเข้าให้ไม่ถูกถาม
การเข้าประเทศญี่ปุ่นจำเป็นต้องใช้ใบขาเข้า (Arrival card) กับใบศุลกากร (Custom Declaration Form) ซึ่งโดยปกติแล้วสามารถรับได้จากบนเครื่องบินไปญี่ปุ่น อาจมีบ้างบางครั้งที่อาจจะไม่มีใบศุลกากรแจก แต่ก็สามารถไปหยิบได้ที่สนามบิน ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด
สิ่งที่สำคัญคือใบขาเข้า เพราะหากเราเขียนเนื้อหาได้ถูกต้องชัดเจน ก็จะไม่โดนถามอะไรจากเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ จะอธิบายจุดสำคัญดังต่อไปนี้
ในใบขาเข้าจะมีภาษาญี่ปุ่น อังกฤษ และตัวจีนเขียนต่อกัน ถ้าหากเป็นคนไทยก็ให้เขียนชื่อด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมด เขียนด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินหรือสีดำ โดยผมจะอธิบายตามใบขาเข้าที่แนบมาด้วยดังนี้
<ใบขาเข้า> (ด้านซ้ายมือ)
① กับ ②
ให้เขียนในกรณีที่เป็นคนจากประเทศที่ใช้ตัวอักษรจีน ส่วนในกรณีของคนไทย ว่างไว้ก็ไม่เป็นไร
③ กับ ④
ช่องใส่ชื่อด้านหน้าเป็นช่องสำหรับนามสกุล ต่อมาคือชื่อ ต้องเขียนให้ตรงกับตัวอักษรภาษาอังกฤษในหนังสือเดินทาง

ช่องสัญชาติ ให้เขียนว่า THAI

ช่องวันเดือนปีเกิด ให้เขียนวันเดือนปีเกิดตามหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางของผู้สูงอายุบางท่านอาจจะไม่มีเขียนวันเดือนปีเกิด ในกรณีนี้ให้เว้นช่องวันเกิดไว้

ช่องเพศ ผู้ชายให้วงกลมที่ 1 ผู้หญิงวงกลม 2

ช่องที่อยู่ในไทย ที่อยู่ของไทยนั้นค่อนข้างยาว ดังนั้นควรเขียนตัวเล็กๆ เพื่อเขียนทั้งหมดให้อยู่ในช่องพอดี ตัวอย่างเช่นถ้าอยู่บ้านเลขที่ 800 รัชดาภิเษก ก็ให้เขียนว่า “Thailand, Bangkok, Huaykwang, Ratchdapisek, 800” โดยเรียงจากประเทศ จังหวัด เขต/อำเภอ ไล่จากใหญ่มาหาเล็ก ทั้งนี้ จุดตรวจคนเข้าเมืองจะไม่ตรวจที่อยู่ ดังนั้นแค่เราเขียนลงไปไม่ปล่อยให้เป็นช่องว่างก็โอเคแล้ว

ช่องอาชีพ ถ้าเป็นพนักงานบริษัทให้เขียนว่า “Office Worker” หรือ “Employee” ก็โอเค ไม่จำเป็นต้องเขียนชื่อบริษัท ถ้าเราไม่ได้มีท่าทีพิรุธน่าสงสัยก็จะไม่โดนถามอะไร เพราะทางตรวจคนเข้าเมืองจะไม่ได้ตรวจสอบเกี่ยวกับบริษัทของเรา

เขียนเลขที่หนังสือเดินทาง

ให้เขียนหมายเลขไฟล์ทบินที่เรานั่งมายังญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่นถ้านั่งสายการบินแจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวที่ 717 ก็ให้เขียนเป็น “JL717” ก็โอเคแล้ว เนื่องจากทุกสายการบินจะมีรหัสชื่อเป็นตัวภาษาอังกฤษ 2 ตัว โดยตัวรหัสนี้จะดูได้จากตั๋วเครื่องบินที่เราขึ้นมา

ช่องวัตถุประสงค์ในการมา ให้ทำเครื่องหมายถูก☑ตรงช่อง “Tourism” ถึงแม้ว่าคุณจะไปติดต่อธุรกิจที่ญี่ปุ่นก็ตาม ถ้าหากทำเครื่องหมายถูก ☑ ตรงช่อง “Tourism” แล้วก็จะเจอคำถามน้อยลง ถ้าหากเราแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าลำลองปกติ แล้วทำเครื่องหมายถูกตรงช่อง “Business” “Visiting Relative” ก็อาจจะโดนคำถามว่าทำงานที่ไหน แล้วญาติอยู่ที่ไหน เป็นต้น แต่ถ้าเลือกตรงข้อที่คนเลือกเยอะที่สุดคือ “Tourism” ก็จะทำให้อะไรๆ ง่ายขึ้น

ช่องระยะเวลาในการอยู่ ระยะเวลาที่อยู่ในญี่ปุ่นได้โดยไม่ต้องมีวีซ่าคือ 15 วัน ดังนั้นจึงควรเขียนจำนวนวันให้ไม่เกิน 15 วัน ในกรณีที่แสดงเอกสารยืนยันการจองโรงแรม ถ้าวันที่เข้าพักกับวันที่อยู่ในญี่ปุ่นนั้นตรงกัน ก็จะไม่โดนถามคำถามอะไรอย่างแน่นอน
⑭ กับ⑮
ช่องนี้ขอให้เขียนให้เรียบร้อย ในกรณีที่พักโรงแรมก็ให้เขียนชื่อโรงแรมกับที่อยู่ อย่าลืมเขียนเบอร์โทรศัพท์ให้เรียบร้อยด้วย ในกรณีที่พักบ้านเพื่อน ก็ขอให้เขียนที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ให้เรียบร้อย (เบอร์มือถือ ก็ใช้ได้) ถ้าหากเราเว้นว่างไว้ ก็จะต้องโดนถามอย่างแน่นอน
<ใบขาออก> (ด้านขวามือ)
ให้กรอกตอนขาเข้าประเทศญี่ปุ่น ไม่ใช่กรอกต้องขาออก
⑯กับ⑰
ไม่ต้องกรอก เหมือนกับ<ใบขาเข้า>ตรง ① กับ ②
⑱กับ⑲
ใส่ชื่อนามสกุลตามหนังสือเดินทาง
เหมือนกับ<ใบขาเข้า>ตรง ③ กับ ④

ช่องสัญชาติ ให้เขียนว่า THAI
21
ให้เขียนเหมือนกับ ⑥ ใน<ใบขาเข้า>
22
ให้เขียนเที่ยวบินที่จะขึ้นขากลับ ควรเขียนให้เรียบร้อย โดยเราจะดูได้จากใน e-ticket
23
เซ็นให้เหมือนกับที่เซ็นในหนังสือเดินทาง
<ด้านหลัง>
ข้อ 1 ถึง 3 ให้ทำเครื่องหมายถูก ☑ตรงช่อง No ตรงนี้จะเป็นช่องคำถามเกี่ยวกับการเสพยาเสพติดและการถูกห้ามไม่ให้เข้าประเทศ ถ้าหากเราเผลอไปทำเครื่องหมายถูก ☑ตรง Yes แล้วล่ะก็คงจะลำบากแน่ๆ
24
ช่องเกี่ยวกับเงินที่นำมา ในกรณีที่ไม่มีบัตรเครดิต ให้ใส่ตัวเลขโดยคิดจากจำนวนวันคูณด้วยสองหมื่นเยน แต่ในกรณีถ้ามีบัตรเครดิต ให้เขียนว่าประมาณ “50000yen~100000yen” หากเราไม่ได้มีท่าทีน่าสงสัย เจ้าหน้าที่ก็จะไม่ถามว่า “ขอดูเงินสดหน่อย” แล้วก็จะประทับตราให้เรา
25
 ให้เซ็นให้เหมือนกับที่เซ็นในหนังสือเดินทาง
ครั้งหน้าจะพูดถึใบศุลกากร
ยูจิ ชิโมะคะวะ (Yuji Shimokawa, เกิดวันที่ 8 มิ.ย. 1954) นักเขียนแนวท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น
เกิดที่เมืองมัทซึโมะโตะ จังหวัดนะกะโนะ จบการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคโอ เริ่มต้นเขียนเรียงความและบทความเกี่ยวกับการท่องเที่ยวลงในหนังสือพิมพ์นักศึกษา อาทิ “เคโองิจุขุ ชิมบุน” (Keiogijuku shinbun) ตั้งแต่สมัยที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย หลังจบการศึกษา ทำงานเป็นนักเขียนอิสระให้กับหนังสือพิมพ์ซังเกชิมบุน (Sankei Shinbun) งานเขียนที่ทำให้ได้เปิดตัวในฐานะนักเขียนแนวท่องเที่ยว คือ “เที่ยวรอบโลกด้วยเงินหนึ่งแสนสองหมื่นเยน” (12 man-en de sekai wo aruku) เป็นการเขียนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในรูปแบบ “แบ็คแพ็คเกอร์” ซึ่งเดินทางโดยใช้รถบัสและรถไฟ ในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990 เคยมาศึกษาภาษาไทยที่ประเทศไทย 2 ครั้ง โดยงานเขียนส่วนมากเกี่ยวกับทวีปเอเชีย และโอกินาว่
แผนที่ร้าน :http://kinjo.namjai.cc/c718.html
ร้านอาหารโอกินาวา คินโจ
24/1 Sukhumvit soi 69, Pra Khanong, Wattana Bangkok
เวลาเปิดให้บริการช่วงเช้า 11.30 - 14.30 และช่วงเย็น 17.00 - 24.00 น. ทุกวัน
Tel:027110536
FB:http://www.facebook.com/kinjo.okinawa
HP:http://kinjo.namjai.cc/c718.html


 


No comments:

Post a Comment